วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

24 June 2013


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลา 8.30-12.20 น

ครั้งที่ 2 

- จัดกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน


เนื้อหา 

พัฒนาการทางสติปัญญา

           พัฒนาการทางสติปัญญา ( Cognitive development ) คือ ความสามารถในการคิด พัฒนามาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม กระบวนการปฏิสัมพันธ์ มี 2 กระบวนการ คือ
1. กระบวนการดูดซึม ( Assimilation )
           มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ๆให้เข้ากับโครงสร้างของปัญญา เช่น การรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
2. กระบวนการปรับโครงสร้าง
           การเปลี่ยนโครงสร้างของเชาว์ปัญญาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา

การปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
           การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
               - ปรับพฤติกรรมให้เกิดภาวะสมดุลให้เกิดเป็นโครงสร้างทางสติปัญญาและปรับความคิดเดิมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ใหม่

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

          วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน และในงานอาชีพต่างๆ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ได้รู้จักพัฒนาวิธีคิด คิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์และสามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบได้


ความหมายของวิทยาศาสตร์

          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.( 2545:744 )  คือ ความรู้ที่ได้จากการสังเกตและการค้นคว้าจากธรรมชาติ

           Dr. Arther A. Carin  คือ วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ได้จากการทดสอบยืนยันมาแล้ว จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ตัวความรู้และกระบวนการที่ใช้ค้นหาอย่างเป็นระบบ นำมาปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษย์

- การเรียนรู้เกิดขึ้นจากเส้นใยของสมองที่เชื่อมกัน
- การทำให้เด็กเกิดการคิด เพื่อให้เส้นใย ประสาทเชื่อมต่อกันในเชลล์ต่างๆ
- ไม่ได้เรียน = ใยประสาทจุดเชื่อมโยงหาย
- เรียนรู้ผิด = ใยประสาทของวงจรการเรียนผิดหนาตัวขึ้น



0-2 ปี
3-5 ปี
ปัจจัยภายนอก
( ความรู้สึก/ ความสามารถ)
การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ประสาทรับรู้พื้นฐาน
การใช้กล้ามเนื้อเล็ก ภาษาจินตนาการ
ปัจจัยภายใน
( คุณลักษณะ )
ความผูกพันและความไว้วางใจ
การควบคุมอารมณ์ การรู้ถูกผิด


ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

           ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิดในการค้นคว้าหาข้อมูลและการแก้ไขปัญหา
       
          สมาคมการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ออกเป็น 13 กระบวนการ จำแนกออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. กระบวนการขั้นพื้นฐานหรือกระบวนการเบื้องต้น
           - การสังเกต
           - การวัด
           - การจำแนกประเภท
           - การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
           - การคำนาณ
           - การจัดกระทำข้อมูลและการสื่อความหมาย
2. กระบวนการขั้นผสม
           - ตั้งสมมติฐาน
           - กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
           - กำหนดควบคุมตัวแปร
           - การทดลอง
           - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

          ดังนั้น วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติประกอบด้วยตัวความรู้แและกระบวนการแสวงหาความรู้ เพื่อนำมาปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง มีความแตกต่าง มีการปรับตัว มีการพึ่งพาอาศัยกันและมีการปรับตัวให้ได้ความสมดุลกับธรรมชาติ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต

           กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบ
           ผลผลิต คือ สิ่งที่ปรากฏขึ้นภายหลังจากที่ได้การทดลองที่ค้นคว้าด้วยวิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์มาแล้ว

           กิจกรรมวิทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิตจะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพราะเมื่อครูจัดเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูก็จะต้องสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก ( กระบวนการ ) เมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูต้องดูผลงานของเด็ก ( ผลผลิต )

         
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

          เกรก ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ เรียกว่า Graig' s basic concepts มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ
- ความเปลี่ยนแปลง
- ความแตกต่าง
- การปรับตัว
- การพึ่งพาอาศัยกัน
- ความสมดุล
           แนวคิดพื้นฐานทั้ง 5 จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา

การรายงานของแต่ละกลุ่ม









ความรู้ที่ได้จากการดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ
 
          ถ้าอากาศร้อนร่างกายของคนเราก็จะขับเหงื่อออกมา ฉะนั้นถ้าเราดื่มน้ำมากๆน้ำก็จะไปทดแทนเหงื่อในร่างกายของเรา ร่างกายเราจะไม่ได้อ่อนเพลีย และน้ำในร่างกายของเราช่วยปรับสมดุลในร่างกาย คนเราต้องการน้ำและอากาศ ถ้าคนเราขาดน้ำก็จะขาดน้ำได้แค่ 3 วันเท่านั้น

ความรู้ที่ได้รับ

          ได้รู้ถึงเรื่อง ความหมาย ความสำคัญและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นและสามารถทำให้รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์และคิดเป็นเหตุเป็นผลมากยิ่งขึ้น และได้รู้เรื่องคุณค่าของน้ำมากขึ้น


การประยุกต์ใช้

           - สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นการคิดแก้ไขปัญหา การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล

           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น