วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

30 September 2013


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 16

     - อาจารย์พูดเรื่องการทำบล็อก
     - การแต่งกาย วันนี้วันสุดท้ายของการเรียนต้องแต่งกายใหเถูกระเบียบ แล้วกล่าวตักเตือนคนที่ใส่ชุดพละกับชุดเอกมาเรียนในวันนี้

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน  ได้แก่      
1.   ทักษะการสังเกต      
2.   ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล      
3.   ทักษะการจำแนกประเภท     
4.   ทักษะการวัด             
5.   ทักษะการใช้ตัวเลข                          
6.   ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล    
7.   ทักษะการพยากรณ์  
8.   ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม  ได้แก่      
1.   ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร   
2.   ทักษะการตั้งสมมุติฐาน     
3.   ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ   
4.   ทักษะการทดลอง       
5.   ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป


- อาจารย์ให้ส่งงานของเล่นของแต่ละคนที่ได้ทำมา และให้ส่งงานกลุ่มที่ทำของเล่นเข้ามุม








วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556



สรุปงานวิจัย

เรื่อง การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (A study of multiple intelligences abilities of young children enhancing science activities)

ของ พิมพ์พรรณ ทองประสิทธ์


      พหุปัญญา หมายถึง  สติปัญญาความสามารถที่หลากหลายของบุคคลที่มีความสามารถที่มาจากการถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วนและการพัฒนาสมองต้องได้รับการเลี้ยงดูจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างมีเป้าหมายคิดอย่างมีเหตุผล และต้องจัดให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้พัฒนาความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับพหุปัญญา  ได้มีผู้ที่ศึกษาถึงสติปัญญาเอาไว้
        ทฤษฏีการพัฒนาสติปัญญา ดังนี้




ทฤษฏีพหุปัญญา

            การ์ดเนอร์ ได้คิดทฤษฏีพหุปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพหุปัญญา เกิดจากศึกษาเรื่องสมองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสติปัญญาและความสามารถที่หลากหลายของบุคคล และมีความเชื่อว่าสติปัญญาแต่ล่ะด้านจะอยู่ที่ต่างๆของสมอง ซึ่งบุคคลคนหนึ่งอาจมีความสามารถทางสติปัญญาได้หลายด้าน คนเราไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการเรียนอย่างเดียวแต่สติปัญญายังมีอีกหลายด้านและแต่ละคนมีสติปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน แต่สามารถพัฒนาสติปัญญาในแต่ละด้านได้มากน้อยต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งการ์ดเนอร์ เชื่อว่าแม้ว่าคนแต่ละคนจะมีสติปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากันแต่ก็สามารถพัฒนาสติปัญญาทั้ง 8 ด้านได้ คือ ด้านภาษา ด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
 ด้านดนตรี ด้านความเข้าใจผู้อื่น ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงสร้างของสมองแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้ 1 สมองใหญ่  2 สมองเล็ก 3 ก้านสมอง

            สมองกับสติปัญญาและการเรียนรู้นั้นสมองของเด็กมีการปรับเปลี่ยนได้ทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที่ การเรียนรู้ที่ได้จากสภาพแวดล้อมสามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองได้อย่างมากในการพัฒนาสติปัญญาขึ้นอยู่กับสมอง  เด็กที่ได้รับการกระตุ้นจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้สมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและความสามารถในการเรียนรู้ของสมองเด็ก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยแต่ละปัจจัยแต่ละปัจจัยมีบทบาทที่สำคัญและจะเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นในการช่วยใหเด็กเรียนดีจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยทุกด้านและทำการแก้ไขปัจจัยดังกล่าวให้ดีขึ้น เด็กที่มีทางเดินเส้นประสาทที่ใช้ในการคิดและเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างเชลล์สมองจำนวนมากจะสามารถเรียนรู้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเด็กทั่วไป ฉะนั้นการส่งเสริมการพัฒนาสมองให้เกิดความสมดุลจะส่งผลในการพัฒนาพหุปัญญาในเด้กปฐมวัย






คู่มือการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

หลักการและเหตุผล

     การจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่มีลักษณะที่สำคัญที่มุ่งสอนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป้นทักษะขั้นสูงมาเป็นแนวในการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาในระดับปฐมวัย ตามแนวของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ จำนวน 8 ด้านคือ 1.ความสามารถทางสติปัญญาด้านภาษา 2.ความสามารถทางสติปัญญาด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ 3.ความสามารถทางสติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ 4.ความสามารถทางสติปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว  5.ความสามารถทางสติปัญญาด้านดนตรี 6.ความสามารถทางสติปัญญาด้านความเข้าใจผู้อื่น 7.ความสามารถทางสติปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง 8.ความสามารถทางสติปัญญาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านการบูรณาการการเรียนรู้เชื่อมโยงกับความสนใจของเด็กและบูรณาการสาระการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆเข้าด้วยกัน เน้นการทำงานกลุ่มการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ปัญหาที่ต้องการค้นหาคำตอบที่สงสัย ตลอกจนลงมือปฏิบัติกิจกรรม จากการปฏิบัติกิจกรรมนักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน 

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

     มีขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 5 ขั้น ดังนี้

  1. ขั้นการสำรวจปัญหา เป็นการค้นหาความสนใจของผู้เรียนที่ต้องการค้นหาคำตอบที่สงสัยโดยครูเป็นผู้กระตุ้นความสนใจในหัวเรื่องที่จะเรียนรู้
  2. ขั้นการตั้งสมมุติฐาน  ผู้เรียนจะคาดคะเน วางแผนในการค้นหาคำตอบที่สามารถหาได้จากวัสดุ อุปกรณ์ 
  3. ขั้นการศึกษาค้นคว้า การเรียนรู้ที่ได้วางแผนไว้ โดยการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เป็นการศึกษาค้นคว้า สำรวจ สังเกต การทดลอง การปฏิบัติจริง เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
  4. ขั้นการสรุปผล เด็กได้สรุปผลจากที่ได้สร้างองค์ความรู้จากการแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนไว้
  5. ขั้นการนำเสนอ เป็นกานนำเสนอสรุปผลที่ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบที่ได้ในรูปการเขียนรายงานแบบวาดภาพ และนำเสนอความรู้ที่ได้จัดในรูปการอธิบายการเล่าเรื่องหรือการสาธิต

แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


ตัวอย่างการจัดกิจกรรม

เรื่อง     น้ำ

กิจกรรม

           มีจำนวน 3 กิจกรรม ดังนี้
               1. ไอศกรีม (พัฒนาพหุปัญญาด้านความเข้าใจผู้อื่น)
               2. การกรอกน้ำ (พัฒนาพหุปัญญาด้านร่งกายและการเคลื่อนไหว)
               3. ดนตรีขวดน้ำ (พัฒนาพหุปัญญาดนตรีและความเข้าใจตนเอง)

แนวคิด

          น้ำเป็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่าต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ น้ำมีลักษณะเป็นของเหลวเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ตามรูปทรงของภาชนะ มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเปลี่ยนแปลงจากของเหลวกลายเป็นของแข็งและของแข็งกลายเป็นของเหลวได้ และน้ำในปริมาณที่แตกต่างกันอยู่ในภาชนะที่เป็นแก้วเมื่อเคาะจะมีระดับเสียงที่ต่างกัน

สาระการเรียนรู้
               1. การเปลี่ยนแปลงของน้ำ จากของเหลวกลายเป็นของแข็ง
               2. การเปรียบเทียบน้ำที่เป็นของเหลวกับของแข็ง
               3. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาดของน้ำ
               4. การสังเกตลักษณะของน้ำกับภาชนะรูปทรงต่างๆ
               5. น้ำเทออกและบรรจุในภาชนะต่างๆได้
               6. น้ำในปริมาณที่แตกต่างมีระดับเสียงที่แตกต่างกัน

จุดประสงค์ที่พึงพัฒนาพหุปัญญา ทั้ง 4 ด้าน
          
     1. ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
          - ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายในการปฏิบัติกิจกรรมในการกรอกน้ำได้
          - ใช้ร่างกายแสดงท่าทาง อธิบายความรู้ในการกรอกน้ำได้
          - ทำกิจกรรมต่างๆอย่างประสานสัมพันธ์ ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับประสาทตาในการกรอกน้ำได้
     2. ด้านดนตรี
          - ร้องเพลงประกอบจังหวะได้
          - มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อทำนองเพลงและจังหวะได้
          - แสดงท่าทางประกอบจังหวะและสัญญาณได้
      3. ด้านความเข้าใจผู้อื่น
          - วางแผนปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
          - ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยการแสดงความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
          - แสดงความเอื้อเฟื้อและแบ่งปันสิ่งของต่อผู้อื่นในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
     4. ด้านความเข้าใจตนเอง
          - ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมและมีความสนใจต่อสิ่งที่ทำในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้
          - กล้าแสดงออกอย่างมั่นใจในการนำเสนอผลงานในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้
          - แสดงการทำงานโดยการปฏิบัติกิจกรรม อย่างมีการวางแผนในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้

แนวการประเมินผล

     1. ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
          - สังเกตการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายในการปฏิบัติกิจกรรมในการกรอกน้ำได้
          - สังเกตการใช้ร่างกายแสดงท่าทาง อธิบายความรู้ในการกรอกน้ำได้
          - สังเกตการทำกิจกรรมต่างๆอย่างประสานสัมพันธ์ ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับประสาทตาในการกรอกน้ำได้
     2. ด้านดนตรี
          - สังเกตการร้องเพลงประกอบจังหวะได้
          - สังเกตการมีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อทำนองเพลงและจังหวะได้
          - สังเกตการ แสดงท่าทางประกอบจังหวะและสัญญาณได้
      3. ด้านความเข้าใจผู้อื่น
          - สังเกตการวางแผนปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
          - สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยการแสดงความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
          - สังเกตการแสดงความเอื้อเฟื้อและแบ่งปันสิ่งของต่อผู้อื่นในการปฏิบัติกิจกรรมไอศกรีมได้
     4. ด้านความเข้าใจตนเอง
          - สังเกตการตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมและมีความสนใจต่อสิ่งที่ทำในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้
          - สังเกตการกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจในการนำเสนอผลงานในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้
          - สังเกตการแสดงการทำงานโดยการปฏิบัติกิจกรรม อย่างมีการวางแผนในการปฏิบัติกิจกรรมดนตรีขวดน้ำได้
       


23 September 2013


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลา 8.30-12.30 น.

ครั้งที่ 15 

            - อาจารย์ให้เพื่อนที่เขียนแผนทำแกงจืด ที่แต่ละกลุ่มได้เลือกทำแกงจืดในสัปดาห์ที่แล้ว นำมาสอนให้กับเพื่อนๆในห้อง วิธีการทำแกงจืดดังนี้




สรุปความรู้

         ได้รู้วิธีการทำแกงจืดและขั้นตอนการสอนเด็กทำอาหาร ว่า ต้องพูดอะไรก่อนหลัง เช่น เด็กๆเห็นอะไรที่ครูเตรียมมาบ้างคะ เด็กๆคิดว่าเอามาทำอะไรได้บ้าง เป็นต้น และสามารถนำไปบูรณาการกับวิชาอื่นๆได้



วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

16 September 2013


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลา 08.30-12.20 น.


ครั้งที่ 14 


          - เรียนกับอาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
          - อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม กลุ่มละ 8-10 คน และแจกกระดาษให้กลุ่มละ 4 แผ่น ได้เรียนเกี่ยวกับการเขียนแผน การจัดประสบการณ์การทำอาหาร ดังนี้


แผ่นที่ 1


แผ่นที่ 2

แผ่นที่ 3

แผ่นที่ 4
สรุปความรู้

          ได้รู้วิธีการเขียนแผนวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องและสามารถนำไปปรับเขียนแผนกับวิชาอื่นๆได้


การนำเสนอของเพื่อนแต่ละกลุ่ม













15 September 2013


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลา 08.30-12.20 น.


วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน2556 เรียนชดเชยที่หยุดไปวันจันทร์ที่ 9กันยายน 2556


- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกนำเสนอของเล่นเข้ามุมกลุ่มดิฉันมีสมาชิก ดังนี้ นางสาว จินตนา แก้วแสงสิม, นางสาว พัชรี คำพูลและดิฉัน นางสาว เณฐิดา แก้วปุ๋ย  ทำเวทีซูโม่กระดาษ





อุปกรณ์
  1.  กระดาษสี
  2.              กระดาษแข็ง
    3.       กาว,กาวร้อน
    4.        กรรไกร
    5.        ดินสอ,ไม้บรรทัด
    6.        ไหมพรม
    7.        ทราย
    8.        กล่อง
    9.       ไม้ไอศกรีม

วิธีทำ                                             

1 นำกล่องมาห่อกระดาษ
2 นำกระดาษสีมาตัดเพื่อตกแต่งด้านข้างกล่อง
3 วาดวงกลมหน้ากล่องกระดาษ
4 ทากาวรอบนอกของวงกลมแล้วนำทรายมาโรยบริเวณที่ทากาว
5 นำเชือกมาติดขอบวงกลมและขอบกล่องทั้ง4ด้าน
6 ตัดกระดาษแข็งทำเป็กล่องใส่อุปกรณ์
7 เจาะรูข้างกล่อง 2 ด้านฝั่งตรงข้ามกันเพื่อใส่ไม้ไอศครีม

หลักการทางวิทยาศาสตร์
                เป็นอาการสั่นชนิดหนึ่งของวัตถุในลักษณะกระทบกระทั่ง อาการสั่นเช่นนั้นมีตัวกลางคือ
ไม้ไอศกรรีม จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้


การนำเสนอของเล่นเข้ามุมกลุ่มเพื่อนๆ

กลุ่ม
สมาชิก
การทดลอง
1
นางสาวศริวรรณ  นางสาวนฤมล    นางสาวชิดชนก
ภาพสองมิติ
2
นางสาวสุพัตรา  นางสาวศศิภาส   นางสาวสินีนาฏ
นิทานเคลื่อนที่โดยแม่เหล็ก
3
นางสาวปรีดาพร  นางสาวรัตนพร  นางสาวณัฐพร
กล่องสีน่าค้นหา
4
นางสาวสุณิษา  นางสาวสุกานดา  นางสาวนิภาพร
รถลงหลุม
5
นางสาวจิราวรรณ  นางสาวจันจิรา  นางสาวอัญชนา
ลิงห้อยโหน
6
นางสาวจินตนา  นางสาวเณฐิดา    นางสาวพัชรี
เวทีซูโม่กระดาษ
7
นางสาวนพมาศ  นางสาวดาราวรรณ  นางสาวศศิธร
กระดาษเปลี่ยนสี
8
นางสาวเพ็ชรรัตน์  นางสาวพรรณวิษา  นางสาวสุนิสา
การเจริญเติบโตของสัตว์
9
นางสาวอนุสรา   นางสาวเนตรนภา    นางสาวโยธิตรา
ความสัมพันธ์ของสัตว์





เพื่อนที่นำเสนอของเล่น
  1. กระดาษเกิดเสียง
  2. กระป๋องผิวปาก
  3. กรวยลูกโป่ง
  4. ภาพลวงตา
  5. ตุ๊กตาล้มลุก
  6. กิ้งก่าไต่เชือก
  7. กระป๋องบูมเมอแรง




เพื่อนที่นำเสนอการทดลอง

น.ส เพ็ชรัตน์  น.ส พรรณวิษา  น.ส สุนิสา

น.ส ณัฐพร  น.ส ปรีดาพร  น.ส รัตนพร

น.ส อุบล  น.ส อรวรรณ   น.ส ปริชญา    




วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

9 September 2013


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 13

          ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอาจารย์ติดธุระ แต่อาจารย์ได้นัดเรียนชดเชยในวัน อาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556 และอาจารย์ได้สั่งงานไว้ คือ ให้แต่ละกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นเข้ามุม,การทดลองและของเล่นให้นำมานำเสนอในวันที่เรียนชดเชย



วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

2 September 2013


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลา 8.30-12.20 น.

ครั้งที่ 12


- อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มนำเสนอของเข้ามุม

กลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง
กลุ่ม 2 กล่องนำแสง
กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก
กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง
กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่
กลุ่ม 6 เขาวงกต
กลุ่ม 7 มองวัตถุผ่านแว่นขยาย





และอาจารย์ได้นัดเรียนชดเชย   ในวัน อาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556 และสื่อทั้งหมดต้องส่งให้ครบ