วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

22 July 2013


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 6 


                     ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นวันเข้าพรรษา


ประวัติวันเข้าพรรษา

          การเข้าพรรษาเป็นบัญญัติซึ่งพระภิกษุสงค์ทุกรูปจะต้องปฏิบัติธรรมอยู่ ณ วัดใดวัดหนึ่ง การอธิษฐานอยู่ประจำและเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชน จะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี



ความสำคัญของวันเข้าพรรษา

     ความดีท่านก็ทำให้ยิ่งๆ ขึ้น ตัวอย่างเช่น อยู่ที่วัดพระเก่าก็เทศน์อบรมให้พระใหม่ พระใหม่ก็ตั้งใจศึกษาให้เป็นความรู้ความดี เพิ่มพูนความดีให้กับตัวของท่านไป แล้วก็ทำใจให้ใสพร้อมๆกัน ด้วยการสวดมนต์ภาวนา แต่เช้ามืด ท่านตื่นกันขึ้นมาตั้งแต่ตีสี่ ตื่นขึ้นมาสวดมนต์กันแต่เช้า เป็นต้น
     สำหรับญาติโยมทั้งหลาย แต่โบราณ พอวันเข้าพรรษาก็อธิษฐานพรรษากันเหมือนกัน อธิษฐานอย่างไร อธิษฐานอย่างนี้ พรรษานี้ สามเดือนนี้ ที่รู้ว่าอะไรเป็นนิสัยที่ไม่ดีในตัวเองที่มีอยู่ ก็อธิษฐานเลย พรรษนี้ (เลือกมาอย่างน้อยหนึ่งข้อ) เราจะแก้ไขตัวเองให้ได้เช่น บางคนเคยกินเหล้าเข้าพรรษาแล้วก็อธิษฐานว่า พรรษนี้เลิกเหล้า เลิกเหล้าให้เด็ดขาด บางคนเคยสูบบุหรี่ ก็อธิษฐานว่า อย่างน้อยพรรษานี้จะเลิกบุหรี่ให้เด็ดขาด เป็นต้น เขาก็มีการอธิษฐานกันในวันเข้าพรรษา พรรษานี้จะละความไม่ดีอะไรบ้าง ทั้งหยาบทั้งละเอียดให้พยายามละกัน คือ ทำตามพระให้เต็มที่นั่นเองในระดับของประชาชน

    สิ่งใดที่เป็นความดี ก็พยายามที่จะทำให้ยิ่งๆขึ้นไป เช่น เมื่อก่อนนี้ก่อนจะเข้าพรรษา ตักบาตรบ้าง ไม่ตักบาตรบ้างวันไหนมีโอกาสก็ทำ วันไหนชักจะขี้เกียจก็ไม่ทำ   เมื่อพรรษานี้พระอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาดีแล้วตั้งใจเลยที่จะตักบาตรให้ได้ทุกเช้า เมื่อก่อนไม่ทุกเช้า แค่วันเสาร์-วันอาทิตย์หรือวันโกนวันพระ พรรษานี้พระอยู่พร้อมหน้า อธิษฐานเลยจะตักบาตรทุกเช้าตลอดสามเดือนนี้ที่เข้าพรรษา นี่ก็เป็นธรรมเนียมที่ปู่ย่าตาทวดทำกัน






วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

15 July 2013



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207
เวลา 08.30-12.20 น.

ครั้งที่ 5

           -   อาจารย์ให้เพื่อนๆนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว
           -   อาจารย์สั่งให้หาการทดลองวิทยาศาสตร์และของที่อยู่ในมุมโดยให้เด็กเล่นได้เลยมานำเสนอครั้งหน้า
           -   อาจารย์นัดเรียนชดเชย คือ วันอาทิตย์ ที่ 28 กรกฏาคม 2556 เวลา 08.30 - 12.20 น. โดยให้มานำเสนอการทดลองและของที่อยู่ในมุม

ดิฉันได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์คือ   กล่องนมเคลื่อนที่ได้

อุปกรณ์
  1. กล่องนม 
  2. ไม้เสียบลูกชิ้น
  3. หนังยางรัดของ 
  4. กระดาษขนาด ยาว 1 นิ้ว  กว้าง 1 นิ้ว
  5. อ่างน้ำ
  6. กรรไกร
  7. คัดเตอร์
  8. กระดาษสี

วิธีทำ 

  1.  นำกล่องนมมาห่อด้วยกระดาษ   
  2.  ตัดไม้เสียบลูกชิ้นให้เป็นสองส่วนเท่าๆกัน
  3.  นำสติกเกอร์ใสมาติดกับกล่องนม
  4.  นำไม้เสียบลูกชิ้นทั้ง 2 เสียบเข้าข้างกล่องนมให้ไม้เสียบลูกชิ้นยื่นออกมา
  5.  นำยางรัดของไปคล้องกับไม้เสียบลูกชิ้นทั้งสอง
  6.  สอดกระดาษแข็งไว้ในยางแล้วบิดให้เป็นเกลียว
  7.  นำกล่องนมไปลอยน้ำ


เหตุผลทางวิทยาศาสตร์

            ตอนที่เราบิดยางรัดให้เป็นเกลียวนั้น มีการสะสมของพลังงานเป็นพลังงานศักย์ เมื่อเราปล่อยกล่องนมลงในอ่าง เกลียวของยางก็จะคลายออกทำให้แผ่นกระดาษหมุนเหมือนกังหัน จึงเกิดพลังงานจนล์ในการเคลื่อนที่จึงทำให้กล่องนมเคลื่อนที่ได้



วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

8 July 2013



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207
เวลา 8.30-12.20 น.

ครั้งที่ 4


- อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 2 แผ่น ให้ทำสมุดเล่มเล็กหนึ่งเล่ม
- อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกไปนำเสนองาน " ของเล่นวิทยาศาสตร์ "
- อาจารย์ได้สาธิตของเล่นวิทยาศาสตร์ให้ดูคือ
        1. เจาะรูใต้ขวดน้ำ 1 รู เอาน้ำใส่จะพบว่าน้ำไหลเพราะเกิดการรั่วที่รูเจาะเอาไว้
        2. ใช้ฝาปิดขวดน้ำใบเดิม จะพบว่า น้ำไม่เกิดการไหลตามรูรั่ว เพราะ อากาศเข้าไปแทนที่



ดู VDO  เรื่อง อากาศ      คือ อากาศไม่มีรูปร่างแต่มีน้ำหนัก


ตัวอย่างการทดลองครั้งที่ 1 

อุปกรณ์    - ถ้วยแก้ว 1 ใบ   - กระดาษ  - อ่างใส่น้ำ

วิธีทำ       - เอากระดาษติดถ้วยแก้วด้านบน
                - แล้วเอาถ้วยแก้วที่มีกระดาษคว่ำลงไปในน้ำ
                - พอเอาถ้วยแก้วขึ้นมาจะพบว่ากระดาษไม่เปียกเพราะอากาศเข้าไปแทนที่ จึงทำให้กระดาษไม่เปียก


 ตัวอย่างการทดลองที่ 2 

อุปกรณ์    - ตาชั่ง    - ลูกโป่ง 2 ลูก

วิธีทำ        - เอาลูกโป่งไปติด 2 ข้างของตาชั่ง  















             
   - ปล่อยลมลูกโป่งสีเหลืองออก จะพบว่าลูกโป่งสีแดงมีลมจะหนักกว่าลูกโป่งสีเหลืองแสดงว่าอากาศเป็นของหนัก












ตัวอย่างการทดลองที่ 3 

อุปกรณ์  - ตาชัง  - ถ้วยกระดาษ 2 ใบ  - เทียนไข

วิธีทำ      - นำถ้วยกระดาษมาติดไว้ 2 ข้างของตาชั่ง ( ทำเหมือนการทดลองครั้งที่ 2 )
               - จากนั้นนำเทียนไขที่ติดไฟไปจ่อข้างขวาของถ้วยแก้ว จะพบว่าถ้วยแก้วที่ถูกเทียนไขจ่อจะลอยตัวขึ้นสูง เพราะอากาศร้อนขึ้นจึงทำให้อากาศเปลี่ยนจึงทำให้ถ้วยแก้วลอยสูงขึ้น

ความรู้ที่ได้รับ

           ได้รู้ว่า อากาศที่อยู่รอบตัวเราไม่มีตัวตนและเราไม่สามารถมองเห็นอากาศนั้นได้แต่อากาศที่เรามองไม่เห็นเนี่ยมีน้ำหนักซึ่งได้รู้จากการทดลองที่กล่าวมาทั้ง 3 ตัวอย่าง

การนำไปประยุกต์ใช้

           สามารถนำการทดลองที่ดูมาแล้ว ทั้ง 3 การทดลอง สามารถนำไปปฏิบัติหรือนำเอาไปปรับเปลี่ยนดัดแปลงเป็นของเล่นวิทยาศาสตร์ได้เพื่อได้เกิดการความคิดสร้างสรรค์ที่จำคิดประดิษฐ์ของเล่นออกมาให้เด็กเล่นได้เล่นของเล่นที่แปลกใหม่และปลอดภัย




วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

1 July 2013


วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207
เวลา 8.30-12.20 น

ครั้งที่ 3 

           อาจารย์ได้พูดสรุปเรื่อง การพัฒนาการทางสติปัญญาทางวิทยาศาตร์ต่อจากเรียนครั้งที่แล้ว
คือ






ดู VDO เรื่องการหักเหของแสง

            แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนทำเล เคลื่อนที่ได้เร็ว 300,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง   ที่เรามองเห็นวัตถุเพราะแสงส่องโดนวัตถุและแสงก็สะท้องวัตถุนั้นๆเข้าตาเรา เราจึงเห็นวัตถุ ตาเราจึงเป็นจอรับภาพ

คุณสมบัติ

           แสงเคลื่อนที่โดยตรงไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง
วัตถุที่แสงผ่านไปได้ 2 แบบ คือ 1. วัตถุโปร่งแสง = แสงทะลุผ่านไปได้บางส่วน เช่น กระจกฝ้า
                                                   2. วัตถุโปร่งใส   = แสงทะลุผ่านไปได้ทั้งหมด เช่น กระจกใส
ส่วนวัตถุทึบแสง = เช่น ไม้ หิน เหล็ก ตัวเรา เป็นต้น


การสะท้อนของแสง

           การที่แสงไปกระทบกับตัวกลางแล้วแสงสะท้อนไปในทิศทางอื่นหรือสะท้อนกลับมาทิศทางเดิม การกระทบของแสงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัตถุด้วยว่าเรียบหรือหยาบ




การหักเหของแสง

            การหักเหของแสงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแสงจะเกิดการหักเห และการหักเหจะเกิดขึ้นเฉพาะผิวรอยต่อของตัวกลางเท่านั้น เช่น ตู้กระจกที่มีน้ำ นำไฟฉายส่องลงตรงๆเสียงก็ออกมาตรง ถ้าเอาไฟฉายส่องเอียง/เฉียง แสงก็เกิดการหักเห เพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุคนละชนิด



          


ความรู้ที่ได้รับ

          ได้รู้เรื่องของวิทยาศาสตร์มากขึ้น เช่น การหักเหของแสง การสะท้องของแสงมากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้

          สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปศึกษาต่อในเรื่องที่เราไม่รู้มาก่อนเพิ่มเติมเพื่อที่จะนำความรู้ไปสอนต่อ

24 June 2013


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207

เวลา 8.30-12.20 น

ครั้งที่ 2 

- จัดกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน


เนื้อหา 

พัฒนาการทางสติปัญญา

           พัฒนาการทางสติปัญญา ( Cognitive development ) คือ ความสามารถในการคิด พัฒนามาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม กระบวนการปฏิสัมพันธ์ มี 2 กระบวนการ คือ
1. กระบวนการดูดซึม ( Assimilation )
           มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ๆให้เข้ากับโครงสร้างของปัญญา เช่น การรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
2. กระบวนการปรับโครงสร้าง
           การเปลี่ยนโครงสร้างของเชาว์ปัญญาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา

การปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
           การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
               - ปรับพฤติกรรมให้เกิดภาวะสมดุลให้เกิดเป็นโครงสร้างทางสติปัญญาและปรับความคิดเดิมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ใหม่

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

          วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน และในงานอาชีพต่างๆ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ได้รู้จักพัฒนาวิธีคิด คิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์และสามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบได้


ความหมายของวิทยาศาสตร์

          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.( 2545:744 )  คือ ความรู้ที่ได้จากการสังเกตและการค้นคว้าจากธรรมชาติ

           Dr. Arther A. Carin  คือ วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ได้จากการทดสอบยืนยันมาแล้ว จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ตัวความรู้และกระบวนการที่ใช้ค้นหาอย่างเป็นระบบ นำมาปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษย์

- การเรียนรู้เกิดขึ้นจากเส้นใยของสมองที่เชื่อมกัน
- การทำให้เด็กเกิดการคิด เพื่อให้เส้นใย ประสาทเชื่อมต่อกันในเชลล์ต่างๆ
- ไม่ได้เรียน = ใยประสาทจุดเชื่อมโยงหาย
- เรียนรู้ผิด = ใยประสาทของวงจรการเรียนผิดหนาตัวขึ้น



0-2 ปี
3-5 ปี
ปัจจัยภายนอก
( ความรู้สึก/ ความสามารถ)
การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ประสาทรับรู้พื้นฐาน
การใช้กล้ามเนื้อเล็ก ภาษาจินตนาการ
ปัจจัยภายใน
( คุณลักษณะ )
ความผูกพันและความไว้วางใจ
การควบคุมอารมณ์ การรู้ถูกผิด


ความหมายของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

           ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิดในการค้นคว้าหาข้อมูลและการแก้ไขปัญหา
       
          สมาคมการศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ออกเป็น 13 กระบวนการ จำแนกออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. กระบวนการขั้นพื้นฐานหรือกระบวนการเบื้องต้น
           - การสังเกต
           - การวัด
           - การจำแนกประเภท
           - การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
           - การคำนาณ
           - การจัดกระทำข้อมูลและการสื่อความหมาย
2. กระบวนการขั้นผสม
           - ตั้งสมมติฐาน
           - กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
           - กำหนดควบคุมตัวแปร
           - การทดลอง
           - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

          ดังนั้น วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติประกอบด้วยตัวความรู้แและกระบวนการแสวงหาความรู้ เพื่อนำมาปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง มีความแตกต่าง มีการปรับตัว มีการพึ่งพาอาศัยกันและมีการปรับตัวให้ได้ความสมดุลกับธรรมชาติ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต

           กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบ
           ผลผลิต คือ สิ่งที่ปรากฏขึ้นภายหลังจากที่ได้การทดลองที่ค้นคว้าด้วยวิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์มาแล้ว

           กิจกรรมวิทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิตจะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เพราะเมื่อครูจัดเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูก็จะต้องสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก ( กระบวนการ ) เมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูต้องดูผลงานของเด็ก ( ผลผลิต )

         
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

          เกรก ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ เรียกว่า Graig' s basic concepts มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ
- ความเปลี่ยนแปลง
- ความแตกต่าง
- การปรับตัว
- การพึ่งพาอาศัยกัน
- ความสมดุล
           แนวคิดพื้นฐานทั้ง 5 จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา

การรายงานของแต่ละกลุ่ม









ความรู้ที่ได้จากการดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ
 
          ถ้าอากาศร้อนร่างกายของคนเราก็จะขับเหงื่อออกมา ฉะนั้นถ้าเราดื่มน้ำมากๆน้ำก็จะไปทดแทนเหงื่อในร่างกายของเรา ร่างกายเราจะไม่ได้อ่อนเพลีย และน้ำในร่างกายของเราช่วยปรับสมดุลในร่างกาย คนเราต้องการน้ำและอากาศ ถ้าคนเราขาดน้ำก็จะขาดน้ำได้แค่ 3 วันเท่านั้น

ความรู้ที่ได้รับ

          ได้รู้ถึงเรื่อง ความหมาย ความสำคัญและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นและสามารถทำให้รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์และคิดเป็นเหตุเป็นผลมากยิ่งขึ้น และได้รู้เรื่องคุณค่าของน้ำมากขึ้น


การประยุกต์ใช้

           - สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นการคิดแก้ไขปัญหา การคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล